วิสัยทัศน์ : บำรุงรักษาทางหลวงให้ได้มาตรฐาน สะอาด สวยงาม และปลอดภัย
ประวัติ
ลงวันที่ 27/11/2561

                                                                                           ประวัติ แขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1 สำนักงานทางหลวงที่ 9 อุบลราชธานี 

                                                                                                                               กรมทางหลวง

 ความเป็นมา

เดิมชื่อ แขวงการทางศรีสะเกษ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2513  ที่ตั้งสำนักงานที่ กม.0+120 ด้านซ้ายทาง ในทางหลวงหมายเลข 221 สาย ศรีสะเกษ-กันทรลักษ์ (ปัจจุบันเป็นสายทางความรับผิดชอบของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ) มีเนื้อที่ทั้งหมด 31 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา  รวมระยะทางในความรับผิดชอบครั้งแรก 433.710 กิโลเมตร และมีหมวดการทางในสังกัด จำนวน 7 หมวดการทาง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหมวดทางหลวง) ได้แก่

  1. หมวดการทางกันทรลักษ์
  2. หมวดการทางไพรบึง
  3. หมวดการทางดงบัง
  4. หมวดการทางห้วยคล้า
  5. หมวดการทางขุขันธ์
  6. หมวดการทางส้มป่อยน้อย
  7. หมวดการทางราษีไศล

ปี พ.ศ.2544    

กรมทางหลวงมีคำสั่งที่ จ.1.9/10/2534 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 เรื่อง ตั้งสำนักงานบำรุงทางอุบลราชธานีที่ 2 (เดชอุดม) ให้แขวงฯโอนสายทางและหมวดการทางให้สำนักงานบำรุงทางอุบลราชธานีที่ 2 (เดชอุดม) และคำสั่งกรมทางหลวงที่ จ 1.9/1/2535 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เรื่องกำหนดระยะทางและปริมาณงานในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแขวงการทางศรีสะเกษจะต้องโอนสายทางและหมวดการทางให้สำนักงานบำรุงทางอุบลราชธานีที่ 2 และแขวงการทางยโสธร และรับโอนสายทางและหมวดการทางสุรินทร์ ทำให้มีระยะทาง 748.891 กม. โดยมีหมวดการทาง 6 หมวดการทาง ได้แก่

  1. หมวดการทางท่าตูม
  2. หมวดการทางขุขันธ์
  3. หมวดการทางศรีสะเกษ
  4. หมวดการทางอุทุมพรพิสัย
  5. หมวดการทางศีขรภูมิ
  6. หมวดการทางบัวเชด

 ปี พ.ศ.2547

กรมทางหลวง มีคำสั่งที่ จ.1.9/17/2547 ลงวันที่ 14 กันยายน 2547 เพื่อประโยชน์แก่ราชการและให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการและเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด       แก่ประชาชนและสังคมโดยรวมได้ทำการโอนสายทางและหมวดการทางให้แขวงการทางสุรินทร์ ทำให้มีระยะทางในความรับผิดชอบ 470.451 กิโลเมตร ระยะทางต่อ 2 ช่องจราจร 492.094 กิโลเมตร โดยมีหมวดการทาง 4 หมวดการทาง ได้แก่

  1. หมวดการทางศรีสะเกษ
  2. หมวดการทางอุทุมพรพิสัย
  3. หมวดการทางราษีไศล
  4. หมวดการทางขุขันธ์

 ปี พ.ศ.2557

 มีการจัดตั้งหมวดการทางใหม่ ตามคำสั่ง กรมทางหลวง ที่ จ.1.9/2/2557  ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 เพื่อประโยชน์แก่ราชการ ในการบำรุงรักษาทางหลวงของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานทางหลวงที่ 7 ให้เป็นไปอย่างคล่องตัว มีเส้นทางเป็นโครงข่ายที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการงานบำรุงทางของแขวงการทาง/สำนักงานบำรุงทาง เกิดประโยชน์ต่อการให้บริการประชาชน  คือ หมวดการทางภูสิงห์  รวมมีหมวดการทางในสังกัดทั้งสิ้น 5 หมวด ได้แก่ 

  1. หมวดการทางศรีสะเกษ
  2. หมวดการทางอุทุมพรพิสัย
  3. หมวดการทางราษีไศล
  4. หมวดการทางขุขันธ์

5.หมวดการทางภูสิงห์  

 ปี พ.ศ.2558

- เปลี่ยนชื่อสำนักงานทางหลวง ตามคำสั่งกรมทางหลวงที่ จ.1.9/5/2558  ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อให้การบริหารงานของกรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คล่องตัวและมีประสิทธิ์ภาพยิ่งขึ้น จากสำนักงานทางหลวงที่ 7 (อุบลราชธานี) เป็นสำนักงานทางหลวงที่ 9 (อุบลราชธานี)

- กำหนดให้มีแขวงทางหลวง โดยการเปลี่ยนชื่อแขวงการทาง  ตามคำสั่งกรมทางหลวงที่ จ.1.9/7/2558  ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 จากเดิม แขวงการทางศรีสะเกษ เป็นแขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1

          - ปรับเปลี่ยนชื่อหมวดการทาง ตามคำสั่งกรมทางหลวงที่ จ.1.9/14/2558  ลงวันที่ 23 เมษายน 2558 จากเดิม หมวดการทาง เป็น หมวดทางหลวง  ดังนี้

  1. หมวดทางหลวงศรีสะเกษ
  2. หมวดทางหลวงอุทุมพรพิสัย
  3. หมวดทางหลวงราษีไศล
  4. หมวดทางหลวงขุขันธ์
  5. หมวดทางหลวงภูสิงห์

 ปี พ.ศ.2560

          -  แขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1 มีระยะทางควบคุม ระยะทางจริง 524.050 กม. ระยะทางต่อ 2 ช่องจราจร 619.730 กม. แบ่งการควบคุมเป็น 5 หมวดการทาง ประกอบด้วย

  1. หมวดทางหลวงศรีสะเกษ
  2. หมวดทางหลวงอุทุมพรพิสัย
  3. หมวดทางหลวงราษีไศล
  4. หมวดทางหลวงขุขันธ์
  5. หมวดทางหลวงภูสิงห์

'